Symphony Communication Public Company Limited

Economic Dimension

ECONOMIC DIMENSION

บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยมุ่งมั่นที่จะสร้างการเติบโตทางธุรกิจและผลตอบแทนที่ยั่งยืนภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบบริหารจัดการที่เป็นเลิศ มีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมตามมาตรฐานสากล ตลอดจนเป็นองค์กรที่มีคุณธรรม มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย

Business Code of Conduct

Symphony Communication Public Company Limited has the intention to promote develop and put control for having a good business operating code of conduct. Therefore the company has gathered and complied the business operating conduct and principle including the regulations which are the standard rules of conduct to be used as the guideline for controlling and governance all company employee; board of directors, company managements and all level employee in every function. The company hold the business code of conduct as the subject all company staff has to strictly abide and follow in the same direction across the organization, always adhere to honesty, good merit and moral, trustworthiness and justice in operation.

In accordance with the Royal Address by of His Majesty King Bhumibol Adulyadej on the Occasion of Ramkamhaeng University Graduation Ceremony on 8th July 1977 as following;

“……..to accomplish the work as wish which meant to be benefit and fair, we cannot rely on only knowledge but also need to comprise honesty, trustworthiness and justice……..”

 

 

Business Code of Conduct (Download)

Anti-Corruption Policy

SYMPHONY COMMUNICATION PUBLIC COMPANY LIMITED conducts its business with fairness based on a philosophy that the Company shall demonstrate a keen sense to social responsibility and the best interests of its stakeholders in alignment with the principle of Corporate Governance, SYMPHONY code of conduct, and Stakeholders’ Guidelines.

To ensure that SYMPHONY has a proper policy determining responsibility, guideline, and regulation as a toll to prevent corruption from all business transactions.

 

SYMPHONY has arranged a written guideline called “Anti-Corruption Policy” in order to prudently make a decision on any course of action that could possibly lead to corruption and to serve as an apparent guideline in performing business and effectively developing to sustainable organization.

Anti-Corruption Definition

Corruption means any types of bribery such as an offer, promise, guarantee, inquire or acquisition on money, asset, or other inappropriate benefits from the government officers, government sectors, private sectors, or responsible person either in direct or indirect action so that such person could proceed or disregard his/her function in order to acquire, retain the business, recommend specific company to entity, or achieve any improper benefits in business transaction. Exception shall be applied in case of laws, regulation, statement, standard, custom, or business traditions enable to do so.

Anti-Corruption Policy

Director, Management Team, and SYMPHONY staff are prohibited from operating or accepting every type of corruption both in direct or indirect manner covering every business and related department in every country. The Anti-Corruption Policy is needed to be reviewed regularly, including with a possible revision of such policy and implementation provision in order to accord with business changes, regulation, standard, and laws.

Role and Responsililities

  1. The Board of Directors is responsible for determining the policy, monitoring, and forming an effective system supporting Anti-Corruption act in order to affirm that the Management Team intensively concerns, emphasizes, and cultivates Anti-Corruption mindset as the Company’s culture.
  2. Nomination and Corporate Governance Committee is responsible for considering the anti-corruption policy and propose for the Board of Directors’ approval and review, follow, evaluate the results as stated in the anti-corruption policy regularly to enhance the anti-corruption policy effectively.
  3. The Audit Committee is responsible for revision of financial and accounting reports, internal control, internal audit function, and risk management so that such operations are concise, appropriate, effective, and conformed to global standard.
  4. President, SYMPHONY Top Executives, and the Management are responsible for determining Anti-Corruption system, promoting, and encouraging Anti-Corruption manner conveyed to all staff and related parties. This also includes reconsideration on system or regulation in order to best adjust with business changes, regulation, standard and laws.
  5. Internal Audit Director is responsible for auditing, assessment, and evaluations in business transactions whether they are accurate and complied with guidelines, Approval Authority, standard, laws, and policy in such monitored department in order to assure that the internal controls are sufficient and suitable for probable risk in corruption. This shall be directly reported to the Audit Committee.

Anti-Corruption Guidelines

  1. The Board of Directors, the Management Team, and SYMPHONY staff in every level must follow with Anti-Corruption Policy and the SYMPHONY Code of Conduct by avoiding involving with any course of corruption in direct or indirect manner.
  2. SYMPHONY staff shall not be negligent in any corruption conditions involved directly with SYMPHONY. All staff must notify such act to supervisors or responsible person, including collaborate with investigation. Any queries or questions are needed to be consulted by the supervisor or a responsible person who monitors the SYMPHONY Code of Conduct compliance provided in particular channels.
  3. SYMPHONY shall provide fairness and safeguard staff who denies or informs corruption cases relating to SYMPHONY by applying Protection Policy for appellant or persons who incorporate with Anti-Corruption information as stated in the Whistleblower Policy.
  4. A person who commits the corruption is equivalent to misconduct in the SYMPHONY Code of Conduct. This means such person is needed to consider discipline followed by SYMPHONY standard. Conviction on laws may be applied in case such act violates the laws.
  5. SYMPHONY concerns the importance of dissemination, knowledge sharing, and communications with other people who involve or affect SYMPHONY so that those parties shall conform effectively to the Anti-Corruption guideline.
  6. SYMPHONY strives to create and sustain organization’s culture representing that corruption is unacceptable in every business transaction dealing with both public and private sectors.

Provision in Implementation

  1. This Anti-Corruption Policy covers to Human Resource Management process staring from recruitment, promotion, training, evaluation, and benefits provided to staff. Every supervisor in every level must communicate to staff in order to apply in business transaction under their responsibility and to monitor such implementation to be the most effective.
  2. Implementation on Anti-Corruption Policy should be followed by guidelines in the SYMPHONY Code of Conduct, Corporate Governance guidelines, Stakeholders’ Guidelines, standard, every SYMPHONY related operation manual, and additional guidelines which will be formulated afterward.
  3. To stress the attention on processes which incur a high risk in corruption, the Board of Directors, the Management Team, and the SYMPHONY staff must conform carefully in the following course of action.
    1. 3.1Gifts, Entertainment and Hospitality: Offering gifts or entertainment and hospitality activities must be complied with the SYMPHONY Code of Conduct.
    2. 3.2Charitable Contribution or Aid: Granting contribution or receiving the aid must be transparent and in accordance with stipulated laws by confirming that such transaction shall not be claimed as a bribery act.
    3. 3.3Business Relation and Procurement Process with the Public Sector: All types of bribery or illegal payments are prohibited in all business transactions, SYMPHONY operation, and connection to the government. Such implementation must be preceded transparently and in alignment with related laws and regulation.

Whistleblower System

Symphony Communication Plc. has purpose to initiate the Whistleblower System to report malpractice concerning unlawful conduct, non-compliance with the good corporate governance policy, unethical business practices, corruption, or unethical conduct. This channel does not handle malpractice reports about product or service quality.

All whistleblowers are required to submit factual information and must not incriminate others without sufficient evidence.

We will ensure fairness and protect the employees or third parties.

We will effectively safeguard your information and proceed with the utmost vigilance in handling your report.


    บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอก จึงได้มีการดำเนินการบริหารความเสี่ยงครอบคลุมทั่วทั้งองค์กรอย่างต่อเนื่องตามหลักมาตรฐานสากลของ Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission (COSO-ERM) สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และสนับสนุนให้การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร บริษัทฯ ได้กําหนดนโยบายบริหารความเสี่ยง ซึ่งมีกระบวนการในการประเมินความเสี่ยง การกำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการกำกับดูแล ควบคุม ติดตาม และประเมินความเสี่ยงไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วทั้งองค์กร ซึ่งนโยบายนี้มีผลบังคับใช้ในการปฏิบัติงานของผู้บริหารและพนักงานทุกคน

    นโยบายการบริหารจัดการความเสี่ยง (Download)

    บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ให้ความสำคัญกับการจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยจัดให้มีกลไกการสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับข้อมูล ทรัพย์สินและระบบสารสนเทศ เพื่อป้องกันความเสียหายที่มีต่อองค์ประกอบทางด้านความมั่นคงปลอดภัยให้สอดคล้องกับข้อกำหนดหรือความต้องการทางธุรกิจและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน และป้องกันการสูญหายของข้อมูลสารสนเทศ การเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต และการแก้ไขข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ในการหาประโยชน์ในทางที่มิชอบ โดยประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้

    1. Confidentiality ทรัพย์สินสารสนเทศจะต้องสามารถเข้าถึงได้โดยบุคคลที่ได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น
    2. Integrity ทรัพย์สินสารสนเทศจะต้องมีความถูกต้องและสมบูรณ์
    3. Availability ทรัพย์สินสารสนเทศจะต้องสามารถเข้าถึงได้เมื่อมีความจำเป็นที่ต้องใช้งานอย่างเหมาะสม

    บริษัทฯ ได้จัดทำนโยบายด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและระบบสารสนเทศ และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ให้สอดคล้องกับกฎหมายและแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่บริษัทจดทะเบียนพึงปฏิบัติ รวมทั้งกำหนดกลยุทธ์และแนวทางบริหารจัดการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ตามกรอบพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พ.ศ. 2562 และตามแนวทางมาตรฐานการจัดการความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ ISO 27001 เพื่อยกระดับความมั่นคงปลอดภัยขององค์กรทุกระดับ รวมไปถึงช่วยให้องค์กรสามารถวางแผนป้องกัน ตรวจจับ และตอบสนองต่อภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็วและเป็นระบบ ในขณะที่ธุรกิจยังคงดำเนินต่อไปได้อย่างเนื่อง

    ในสถานการณ์ปัจจุบันที่การดำเนินธุรกิจโทรคมนาคมมีการแข่งขันเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่พฤติกรรม ความคาดหวังและความต้องการของลูกค้ามีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกที่ปรับตัวไปสู่สังคมดิจิทัลอย่างกว้างขวาง การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า  และการสร้างความผูกพันของลูกค้าเป็นสิ่งที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากลูกค้าเป็นผู้มีส่วนได้เสียสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนธุรกิจและผลประกอบการของบริษัทฯ ให้สามารถเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ด้วยเหตุนี้ บริษัทฯ จึงมุ่งเน้นการสร้างความมั่นใจในสินค้าและบริการและสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการส่งมอบและรักษาระดับคุณภาพของการให้บริการที่เป็นเลิศในระดับราคาที่เหมาะสม ให้ความสำคัญกับการให้บริการอย่างมืออาชีพด้วยความรวดเร็ว ให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบริการอย่างครบถ้วน ถูกต้อง ตรงไปตรงมา และเพียงพอต่อการตัดสินใจ รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่สามารถตอบสนองต่อความคาดหวังและตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละราย (Customization) เพื่อสร้างการเติบโตและส่งมอบประสบการณ์อันยอดเยี่ยม หรือ Excellent Experience ให้กับลูกค้าตามพันธกิจหลักของบริษัทฯ

    นอกจากความมุ่งมั่นในการส่งมอบและรักษาระดับคุณภาพของการให้บริการอันเป็นเลิศแล้ว บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับการสร้าง บริหารจัดการ และรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างบริษัทฯ กับลููกค้า ตลอดจนการมีส่วนร่วมของลูกค้าผ่านการทำกิจกรรมทางธุรกิจและสันทนาการต่าง ๆ ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องผ่านระยะเวลาการให้บริการ 3 ช่วงเวลา ตั้งแต่ก่อน ระหว่าง และหลังรับบริการ ควบคู่กับการรับฟัง รวบรวม และนำความต้องการ ปัญหา ความคาดหวัง ตลอดจนข้อคิดเห็นทั้งทางบวกและลบของลููกค้าที่มีต่อบริการของบริษัทฯ ซึ่งได้รับจากช่องทางการติดต่อสื่อสารและรับเรื่องร้องเรียน ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ที่บริษัทฯ ได้จัดเตรียมขึ้น อาทิ การพูดคุยกับพนักงานฝ่ายขายโดยตรง การติดต่อทางโทรศัพท์มายังฝ่ายบริการลููกค้า การส่งอีเมลหรือข้อความผ่านสื่อออนไลน์ ระบบรับเรื่องร้องเรียนผ่านเว็บไซต์ การสำรวจความพึงพอใจ ฯลฯ มาวิเคราะห์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการนำเสนอหรือพัฒนาปรับปรุงบริการที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่ได้ดียิ่งขึ้น

    การสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า

    เพื่อให้เกิดการพัฒนาการบริหารลูกค้าสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ทางบริษัทฯ ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าเป็นประจำทุกปีผ่านระบบการประเมินหลาย ๆ ช่องทาง อาทิ โทรศัพท์ ออนไลน์ อีเมล (CSAT) โดยใช้แบบสอบถามที่ประเมินหัวข้อสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ได้แก่ ความสัมพันธ์และภาพลักษณ์ของบริษัทฯ คุณภาพของวงจรที่ให้บริการ การติดตั้งวงจรและส่งมอบบริการแก่ลูกค้า บริการหลังการขายและการแก้ไขปัญหา รูปแบบการชำระเงิน การแก้ปัญหาหรือเทคนิคที่ใช้โดยพนักงานขาย ซึ่งผลการสำรวจความพึงพอใจของลููกค้าในปี 2566 พบว่า ลููกค้ามีความพึงพอใจต่อการให้บริการของบริษัทฯ สูงถึงร้อยละ 92.71 อย่างไรก็ดี เพื่อรักษามาตรฐานการให้การบริการที่เป็นเลิศ บริษัทฯ จะดำเนินการพัฒนาต่อยอดการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า และภาพลักษณ์ของบริษัทฯ รวมถึงการให้บริการหลังการขายและการแก้ไขปัญหา เพื่อส่งมอบประสบการณ์อันยอดเยี่ยมและสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าอย่างยั่งยืน

    คู่ค้าเป็นผู้มีส่วนได้เสียและเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จทางธุรกิจที่สำคัญ เนื่องจากบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจโทรคมนาคม โดยให้บริการวงจรสื่อสารความเร็วสูงผ่านโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสง รวมถึงบริการไอซีทีและดิจิทัลโซลูชั่นต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้สายเคเบิลใยแก้วนำแสง อุปกรณ์โครงข่าย อุปกรณ์ระบบ และซอฟต์แวร์ระบบงานต่าง ๆ จากคู่ค้ามากมาย ดังนั้น บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแลกิจการที่ดีในทุกขั้นตอน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพทั้งในด้านการบริหารต้นทุน และการส่งมอบสินค้าและบริการ โดยมีหลักในการดำเนินการ ดังนี้

    1. กำหนดกลยุทธ์ในการบริหารห่วงโซ่อุปทานที่มั่นใจว่าการบริหารและจัดการจะเป็นไปด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ มีความรับผิดชอบ ถูกต้องตามกฎหมาย ข้อบังคับ และแนวทางระดับสากล สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืนร่วมกัน
    2. กำหนดกระบวนการคัดกรองคู่ค้าก่อนการเข้ารับงานให้กับบริษัทฯ ในแต่ละโครงการ/งาน โดยมีเกณฑ์ในการคัดกรองแบ่งเป็น 3 ด้าน ดังนี้

    –    ความน่าเชื่อถือของบริษัทและความสามารถทางด้านการบริหารการเงิน

    –    ด้านเทคนิคและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี

    –    การบริหารจัดการและการคำนึงถึงผลกระทบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และคุณภาพของงาน

    1. ดำเนินการจัดจ้างและทำสัญญาอย่างโปร่งใส เสมอภาค และเป็นธรรม สอดคล้องและเป็นไปตามนโยบายการจัดซื้อจัดจ้าง
    2. กำหนดให้มีกลไกในการประเมินความเสี่ยงของคู่ค้า เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อการดำเนินธุรกิจ และ ชื่อเสียงขององค์กร
    3. ร่วมมือพัฒนาคู่ค้าให้กลายเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ โดยการพัฒนาศักยภาพ ผ่านการทำธุรกิจบนพื้นฐานการรับฟังและให้ข้อมูลป้อนกลับ
    4. เปิดเผยและสื่อสารนโยบายการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
    5. จัดให้มีช่องทางการสื่อสารและช่องทางการร้องเรียนและแจ้งเบาะแสให้กับคู่ค้า

    และเพื่อแสดงถึงเจตนารมณ์ที่จะผลักดันให้เกิดความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทในระยะยาว บริษัทได้กำหนดนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นธรรมและรับผิดชอบต่อคู่ค้า รวมทั้งจัดทำจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของคู่ค้า เพื่อให้มั่นใจได้ว่ากระบวนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และคู่ค้ามีความสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้เสีย และสร้างความยั่งยืนของธุรกิจของบริษัทฯ และของคู่ค้าในระยะยาว

    นโยบายการจัดซื้อจัดจ้าง (Download)

    จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของคู่ค้า (Download)

    บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ให้ความสำคัญและสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ก่อให้เกิดมูลค่าแก่ธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างคุณค่าปละประโยชน์ให้แก่สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นความร่วมมือและการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับบริษัทชั้นนำที่มีชื่อเสียง มีความชำนาญและมีความเป็นมืออาชีพในธุรกิจแขนงต่าง ๆ เพื่อเรียนรู้และพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ รวมถึงยกระดับคุณภาพการให้บริการ เพื่อสร้างความพึงพอใจและตอบโจทย์ทุกความความต้องการของลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ โดยเน้นให้พนักงานคิดกระบวนการทำงานโดยประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขึ้นภายในกระบวนการทำงานของตนเอง ทั้งนี้ บริษัทฯ จะสนับสนุนการพัฒนากระบวนการทำงานของพนักงานผ่านการฝึกอบรมต่าง ๆ เพื่อเพิ่มทักษะในการทำงาน รวมทั้งนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในกระบวนการทำงานของพนักงานด้วย

    บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ให้ความสำคัญต่อการทำรายงานทางบัญชีและการเงิน ซึ่งจะต้องถูกต้องสมบรูณ์ตามความเป็นจริง ทันเวลา สมเหตุสมผล เพื่อเสนอต่อผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น หน่วยงานกำกับดูแล และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ดังนั้น จึงกำหนดให้บุคลากรทุกระดับจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบบัญชีและการเงิน รวมถึงข้อกำหนดทางบัญชีและการเงินของบริษัทฯ และหลักการบัญชีที่ยอมรับทั่วไปอย่างเคร่งครัด

    แนวทางปฏิบัติ

    1. กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มาตรฐาน และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกรายการทางบัญชีและการเงินและการจัดทำรายงานทางบัญชีและการเงิน เพื่อให้การจัดทำบัญชีของบริษัทฯ เป็นไปอย่างถูกต้องและสมบูรณ์ ตลอดจนยึดหลักความซื่อสัตย์ ไม่มีอคติ เพื่อให้การจัดเก็บ บันทึกข้อมูล และการจัดทำรายงานทางบัญชีและการเงินเป็นไปโดยสุจริต
    2. การบันทึกรายการทางธุรกิจของบริษัทฯ ต้องมีความถูกต้อง ครบถ้วน สามารถตรวจสอบได้ สอดคล้องและเป็นไปตามระเบียบและข้อกำหนดของบริษัทฯ รวมทั้งมีเอกสาร หลักฐาน ประกอบการลงรายการที่ครบถ้วน เพียงพอ และทันเวลา เพื่อให้การบันทึกรายการทางธุรกิจเป็นไปโดยสมบูรณ์ในระบบบัญชี ตลอดจนต้องเป็นไปตามความเป็นจริง ไม่มีการบิดเบือน หรือสร้างรายการเท็จ
    3. รายการทางบัญชีและการเงินทุกประเภทของบริษัทฯ จะต้องมีความถูกต้อง ชัดเจน มีข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญเพียงพอ รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญอย่างเหมาะสมตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป
    4. ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ ที่มีหน้าที่ความผิดชอบงานบัญชีและการเงิน ต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบร่วมกันที่ต้องมีต่อความถูกต้องของรายงานทางบัญชีและการเงิน นอกจากนี้ ผู้บริหารและพนักงานที่เป็นผู้ทำรายการทางธุรกิจมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดเตรียม และ/หรือให้ข้อมูลรายการทางธุรกิจต่างๆ แก่พนักงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานบัญชีและการเงิน

    บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ตระหนักดีถึงบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในการเป็นผู้เสียภาษีที่ดีซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาประเทศ จึงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านภาษี โดยยึดหลักความถูกต้อง โปร่งใส และตรวจสอบได้ เพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

    แนวทางปฏิบัติ

    1. จัดให้มีการบริหารจัดการด้านภาษีอย่างโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ ตามแนวทางที่กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนด เพื่อให้บริษัทฯ ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เหมาะสมและสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
    2. ดำเนินการนำส่งภาษีหรือขอคืนภาษีอย่างถูกต้อง เหมาะสม และภายในระยะเวลาที่กฎหมายหรือ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนด
    3. พิจารณาความเสี่ยงด้านภาษีอากร เพื่อให้มั่นใจว่าได้มีการระบุและการจัดการความเสี่ยงด้านภาษีอากร และรายงานไปยังฝ่ายบริหารและหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านภาษี เพื่อลดผลกระทบจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นอย่างเหมาะสม
    4. จัดให้มีการวางแผน ศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบทางภาษีสำหรับโครงการลงทุนต่าง ๆ ของบริษัทฯ ให้เหมาะสมก่อนเข้าลงทุน
    5. จัดให้มีผู้รับผิดชอบด้านภาษีที่มีความรู้และทักษะด้านภาษี ในการติดต่อและประสานงานกับหน่วยงาน ด้านภาษีของราชการ เพื่อให้ข้อมูลทางภาษีที่ถูกต้องตรงตามข้อเท็จจริงในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการ สร้างความสัมพันธ์และรักษาแนวปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมาย
    6. ส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานที่รับผิดชอบภาษีอากรมีความรู้และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดความเสี่ยงอันจะก่อให้เกิดความเสียหายกับบริษัทฯ โดยจัดให้ผู้ปฏิบัติงานด้านภาษีได้รับการอบรมด้านกฎหมายภาษีอากรอย่างต่อเนื่อง
    7. เปิดเผยนโยบายด้านภาษีให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมไปถึงเปิดเผยข้อมูลภาษีเงินได้ในรายงานทางการเงินของบริษัทฯ ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสีย