Symphony Communication Public Company Limited

Sustainability At A Glance

Sustainability At A Glance

Excellent Experience for All

“Building Sustainable Growth towards Excellent Experience for All

 

Sustainability Development Framework and Policy

Symphony Communication Public Company Limited believes that sustainable development and inclusive growth are the methods to establish long-term value for the Company and its stakeholders. Therefore, the Company is committed to and recognizes the importance of sustainable business operations based on good corporate governance principles as well as social responsibility and stewardship of environment.

The Company has adopted the “Sufficiency Economy Philosophy” taking into account moderation, reasonableness, and good self-immunity with knowledge and morality as conditions, including international sustainability development principles as a guideline for conducting business to create balance between economy, society, and environment.  All activities of the Company must be conducted on the principles of sustainability and aim for sustainable results in order to create share value for stakeholders as well as maintain acceptance and trust of all stakeholders.

To strengthen corporate culture of sustainability and to use as best practice for business operation, the Company has established a sustainability development policy focusing on creation of values in three dimensions, namely: economic value, social value, and environmental value on the basis of good corporate governance.

นโยบายการพัฒนาความยั่งยืน

การกำกับดูแลและการจัดการที่มีประสิทธิภาพเป็นปัจจัยที่สำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความยั่งยืน และสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจและความสำเร็จในระยะยาว

 

 

เพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์ เป้าหมาย และการดำเนินงานขององค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ครอบคลุมและทั่วถึง บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) มีโครงสร้างการกำกับดูแลและการบริหารจัดการด้านความยั่งยืนที่ทุกคนมีส่วนร่วม ตั้งแต่คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการชุดย่อย คณะทำงาน ผู้บริหารทุกระดับและพนักงานทุกคน โดยมีคณะกรรมการบริษัทเป็นผู้กำกับดูแลสูงสุดในการให้คำแนะนำและอนุมัตินโยบาย ทิศทาง เป้าหมาย กลยุทธ์ และงบประมาณในการดำเนินงานด้านความยั่งยืน และมีคณะกรรมการสรรหา พิจารณาค่าตอบแทนและกำกับดูแลกิจการ และคณะกรรมการบริหารทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเรื่องดังกล่าวในเบื้องต้น

ในส่วนของการบริหารจัดการด้านความยั่งยืนนั้น คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความยั่งยืนองค์กร ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริหารจากหน่วยธุรกิจต่าง ๆ ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความยั่งยืนผ่านการกำหนดกลยุทธ์ เป้าหมาย กรอบการดำเนินงาน แนวทางบริหารจัดการ และตัวชี้วัดด้านความยั่งยืน รวมทั้งติดตามผลและประสิทธิภาพของการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงานด้านความยั่งยืน นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการความยั่งยืนองค์กร โดยมีกรรมการผู้จัดการเป็นประธาน ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและดูแลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ นโยบาย เป้าหมาย และกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุนและผลักดันให้เกิดความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านความยั่งยืนทั่วทั้งองค์กร ตลอดจนรายงานผลการดำเนินงานให้กับคณะกรรมการบริหารได้รับทราบอย่างสม่ำเสมอ

และเพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานด้านความยั่งยืนถูกสอดผสานไปกับวัฒนธรรมองค์กรและการดำเนินงานประจำวัน มีการสื่อสารที่ชัดเจน และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ ได้จัดตั้งคณะทำงานส่งเสริมความยั่งยืนองค์กร ซึ่งประกอบด้วยแชมเปี้ยนหรือผู้นำการบริหารจัดการความยั่งยืนองค์กรในด้านต่าง ๆ ครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่รับผิดชอบในการประสานงานกับผู้บริหารสายงานและฝ่ายต่าง ๆ เพื่อช่วยในการสื่อสารกับพนักงาน ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการนำแผนงานไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน

บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย โดยเชื่อมั่นว่าความสัมพันธ์อันดีบนพื้นฐานของความไว้วางใจ ตลอดจนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อบริษัทฯ มีส่วนสำคัญที่จะส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายในการเป็นองค์กรที่พัฒนาและเติบโตได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสียจะช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงลดความเสี่ยงอันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์และโอกาสในการหยุด ชะงักทางธุรกิจ พร้อมทั้งสามารถสร้างคุณประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน บริษัทฯ มีการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้าใจถึงประเด็นต่างๆ ที่อยู่ในความสนใจและรับข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียมาบูรณาการเข้ากับกระบวนการตัดสินใจและวางแผนการดำเนินธุรกิจของจีพีเอสซี

บริษัทฯ ได้มีการทบทวนการดำเนินงานการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย พร้อมระบุและจัดลำดับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบริษัทฯ ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ รวมทั้งหาแนวทางในการตอบสนองต่อความคาดหวังและประเด็นที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนจัดทำแนวทางสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียต่อไป โดยบริษัทฯ จำแนกกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียออกเป็น 8 กลุ่ม โดยพิจารณาจากความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย และผลกระทบด้านความยั่งยืนของผู้มีส่วนได้เสียต่อบริษัทฯ ประกอบด้วย 1) ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน 2) พนักงาน 3) ลูกค้า 4) คู่ค้าหรือผู้จัดหาสินค้า 5) พันธมิตรทางธุรกิจ 6) หน่วยงานราชการและหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง 7) สถาบันการเงิน และ 8) ชุมชนและสังคม

บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการประเด็นด้านความยั่งยืนทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยมีกระบวนการประเมินและจัดลำดับความสำคัญอ้างอิงตามกรอบการรายงานความยั่งยืนสากล Global Reporting Initiative (GRI) ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการรวบรวมและประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนผ่านการวิเคราะห์ประเด็นความยั่งยืนที่สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ให้ความสำคัญในบริบทของความยั่งยืนและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก ประกอบกับการนำแนวทางการดำเนินกลยุทธ์ของบริษัทฯ และปัจจัยความเสี่ยงของบริษัทฯ ในปัจจุบันและอนาคตที่อาจส่งผลกระทบหรือเป็นโอกาสในการดำเนินธุรกิจมาประกอบการประเมินความสำคัญของประเด็นด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ขั้นตอนการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

  1. การระบุประเด็นด้านความยั่งยืน (Identification)

คณะกรรมการจัดการความยั่งยืนองค์กรรวบรวมประเด็นด้านความยั่งยืนจากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรและระบุประเด็นสำคัญที่มีผลกระทบต่อความยั่งยืนขององค์กรทั้งเชิงบวกและลบครอบคลุมมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาทั้งปัจจัยภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกและในอุตสาหกรรม เหตุการณ์ในอดีต ปัจจัยความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบในอนาคต โอกาสในการดำเนินธุรกิจ และหลักสิทธิมนุษยชนสากล

  1. การประเมินและจัดลำดับความสำคัญของประเด็นด้านความยั่งยืน (Assessment and Prioritization)

คณะกรรมการจัดการความยั่งยืนองค์กรนำประเด็นด้านความยั่งยืนที่ระบุเข้าสู่กระบวนการประเมินผ่านการพิจารณาความคิดเห็นและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียจากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์สำหรับผู้มีส่วนได้เสียภายนอก ซึ่งได้รับการคัดเลือกโดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง และการใช้แบบสำรวจออนไลน์สำหรับผู้มีส่วนได้เสียภายในบริษัทฯ ซึ่งข้อมูลที่รวบรวมได้จากผู้มีส่วนได้เสียจะถูกวิเคราะห์ในรูปแบบคะแนนที่ให้ต่อประเด็นด้านความยั่งยืนภายใต้เกณฑ์การประเมินระดับความรุนแรงและโอกาสของการเกิดผลกระทบทั้งต่อบริษัทฯ และต่อผู้มีส่วนได้เสีย จากนั้นจึงจัดทำแผนผังเพื่อจัดลำดับความสำคัญของประเด็นด้านความยั่งยืน (Materiality Matrix)

  1. การทวนสอบประเด็นที่สำคัญ (Validation)

คณะกรรมการจัดการความยั่งยืนองค์กรนำเสนอผลการประเมินและผลการจัดลำดับประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนต่อคณะกรรมการอำนวยการความยั่งยืนองค์กรเพื่อพิจารณาทบทวนประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนให้มีความสอดคล้องกับบริบท
กลยุทธ์และเป้าหมายของบริษัทฯ ก่อนที่จะกำหนดกลยุทธ์และแนวทางการจัดการต่อประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ ในมิติต่าง ๆ และมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการตอบสนองประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนต่อไป

ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารมีหน้าที่อนุมัติประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน รวมถึงกลยุทธ์และแนวทางการจัดการต่อประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ และรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการบริษัทรับทราบ

บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมให้ความสำคัญกับการดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals หรือ UN SDGs) จำนวน 8 เป้าหมายหลัก ซึ่งสอดคล้องและเกี่ยวข้องกับประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ รวมทั้งให้การสนับสนุนอีก 9 เป้าหมาย เพื่อสร้างคุณค่าและประโยชน์อย่างยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย

เป้าหมาย กลยุทธ์และแนวทางการบริหารจัดการด้านความยั่งยืน

กรอบการพัฒนาด้านความยั่งยืน ความมุ่งมั่น เป้าหมาย กลยุทธ์และแนวทางการบริหารจัดการ การตอบสนองต่อ UN SDGs
เศรษฐกิจ สร้างคุณค่าให้แก่กิจการและรังสรรค์ประสบการณ์อันยอดเยี่ยมให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างยั่งยืน รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล • รายได้และกำไรจากการดำเนินงานเติบโดอย่างต่อเนื่อง
• ความพึงพอใจประจำปีโดยรวมของลูกค้าที่ร้อยละ 95
• 100 % ของจํานวนคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ รับทราบจรรยาบรรณคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ
• รักษาผลตะแนนการกำกับดูแลกิจการจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ตามโครงการ CGR ในระดับ “ดีเลิศ”
• ความสำเร็จในการได้รับการรับรองการต่ออายุโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยใน การต่อต้านการทุจริต (CAC Recertification)
• ดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีความรับผิดชอบภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
• ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจและการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบ
• บริหารจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล
• จัดหาแหล่งเงินทุนและบริหารการเงินอย่างรอบคอบ
• ลงทุนพัฒนาประสิทธิภาพของโครงข่ายด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย
• ส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อยกระดับการให้บริการและประสิทธิภาพการดำเนินงาน
• ส่งมอบบริการที่ดีที่สุดและอย่างมีความรับผิดชอบต่อลูกค้า
• บริหารจัดการความสัมพันธ์และความพึงพอใจของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
• ร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อขยายโอกาสในธุรกิจใหม่ รวมถึงเพื่อพัฒนาและส่งมอบบริการดิจิทัลใหม่ ๆ ให้แก่ลูกค้า
• สร้างความสัมพันธ์กับพันธมิตรทางธุรกิจที่ทำให้เกิดประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่ายอย่างยั่งยืน
• ให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
• ผนวกแนวคิดด้านการพัฒนาความยั่งยืนในทุกกิจกรรมการดำเนินงาน
• สร้างความตระหนักและปลูกฝังจิตสํานึกที่ดีให้แก่บุคลากรเป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุตามเป้าหมาย และมีความตระหนักถึงการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยจัดให้มีการสื่อสารอย่างทั่วถึง และการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดีในการปฏิบัติงานและการดําเนินธุรกิจ
สังคม เป็นองค์กรที่มีสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม สร้างโอกาสและพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมอย่างยั่งยืน • ความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
• อัตราการลาออกของพนักงานลดลง
• อุบัติเหตุจากการทำงานเป็นศูนย์
• เส้นทางโครงข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ
• ให้ความสำคัญและเคารพสิทธิมนุษยชน
• บริหารทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ ปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม สอดคล้องและดีกว่ามาตรฐาน ข้อกำหนด และกฎหมายด้านแรงงาน
• ลงทุนพัฒนาศักยภาพและ ความสามารถของบุคลากรด้วยการสนับสนุนการฝึกอบรมและทรัพยากรที่จำเป็นต่าง ๆ และสร้างผู้นำที่ดีเพื่อองค์กรและสังคม
• สนับสนุนระบบการจัดการอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี
• รักษาข้อมูลส่วนบุคคลและความเป็นส่วนตัวของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยจัดให้มีนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและนำมาปฏิบัติใช้ในการดำเนินงาน
• ลงทุนขยายเส้นทางโครงข่ายให้เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในการเข้าถึงการใช้บริการและแหล่งข้อมูลต่างๆ
• สนับสนุนและส่งเสริมพนักงาน รวมทั้งคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจให้มีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อสังคม
• ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบริษัทฯ กับชุมชน และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อสานความสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ และความร่วมมืออย่างเข้มแข็ง
สิ่งแวดล้อม เป็นองค์กรที่มีการดำเนินงานที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม • ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในสำนักงาน
• ลดปริมาณการใช้กระดาษในสำนักงาน
• ลดปริมาณของเสียจากกิจกรรมการดำเนินงาน โดยนำกลับมาการใช้ซํ้าหรือการนำกลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุด
• ปริมาณการปล่อบก๊าซเรือนกระจกลดลงสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593
• ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
• สนับสนุนกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง การใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
• จัดทํามาตรการเพื่อลดการใช้พลังงาน
• ควบคุมปริมาณการใช้กระดาษ และใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยในการลดปริมาณการใช้กระดาษ
• บริหารจัดการของเสียจากกิจกรรมการดำเนินงาน รวมถึงขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยให้มีการลดปริมาณ การใช้ซํ้า และการนำกลับมาใช้ใหม่ และการเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกวิธีแทนการฝังกลบ
• ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการพยายามลดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก
• ส่งเสริมความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติระหว่างบริษัทฯ กับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
• สร้างความตระหนักและปลูกฝังจิตสํานึกความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมให้แก่บุคลากร โดยการสื่อสารอย่างทั่วถึง และการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสําคัญต่อความยั่งยืนขององค์กร