Symphony Communication Public Company Limited

Monthly: August 2023

IaaS, PaaS, SaaS ต่างกันอย่างไร

อย่างที่เราทราบกันดีว่าในปัจจุบัน ผู้ประกอบการหลายรายเริ่มนำบริการ Cloud ไปปรับใช้กับธุรกิจ ดังนั้นการทำความเข้าใจความแตกต่างและข้อดีของบริการ Cloud แต่ละรูปแบบนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ วันนี้ Symphony Cloud จะขอพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับบริการ Cloud ทั้ง 3 รูปแบบ โดยจะอธิบายให้เห็นถึงความแตกต่าง ตัวอย่างของการให้บริการ ข้อดีและความเหมาะสมในการใช้งานในแต่ละรูปแบบด้วย

Infrastructure-as-a-Service (IaaS)

เป็นบริการให้เช่าทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานระบบไอที เช่น CPU, Memory, Storage และ Networking ซึ่งลูกค้าสามารถกำหนดขนาด (Capacity) ให้เหมาะสมกับความต้องการได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อ Hardware ของตัวเอง ยกตัวอย่าง IaaS เช่น Microsoft Azure, AWS EC2, Google Compute Engine (GCE) เป็นต้น

Platform-as-a-Service (PaaS)

เป็นบริการให้เช่าแพลตฟอร์มสำหรับนักพัฒนา Software โดยผู้ให้บริการจะจัดเตรียมทรัพยากรรวมถึง Framework หรือ Tools ต่างๆ เพื่อช่วยให้นักพัฒนา Software สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันต่างๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็วและปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการตามความเหมาะสม ตัวอย่าง PaaS เช่น Google App Engine (GAE) และ AWS Elastic Beanstalk เป็นต้น

Software-as-a-Service (SaaS)

เป็นบริการให้เช่าซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่ผู้ใช้บริการสามารถสมัครสมาชิกและเข้าใช้งานได้ทันทีผ่านอินเทอร์เน็ต โดยซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะทำงานอยู่บน Cloud ซึ่งผู้ให้บริการเป็นผู้ดูแลทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เอง ตัวอย่าง SaaS เช่น O356, Google Workspace, Dropbox, Salesforce เป็นต้น

สรุปความแตกต่างระหว่าง IaaS, PaaS และ SaaS

IaaS : ทรัพยากรให้เช่าที่มีความยืดหยุ่นในการปรับขนาดทรัพยากรเพื่อโฮสต์แอปทางธุรกิจที่สร้างขึ้นเองรวมถึงการจัดเก็บข้อมูลทั่วไป

PaaS : สร้างขึ้นบนแพลตฟอร์ม IaaS เพื่อลดความจำเป็นในการดูแลโครงสร้างพื้นฐาน ช่วยให้ธุรกิจไปมุ่งเน้นที่การพัฒนาแอปแทนโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการดูแลระบบ

SaaS : เป็น Software สำเร็จรูปพร้อมใช้งานที่สร้างมาเพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ (เช่นเว็บไซต์หรืออีเมล) โดยส่วนมากแล้วแพลตฟอร์ม SaaS สมัยใหม่ มักถูกสร้างขึ้นบนแพลตฟอร์ม IaaS หรือ PaaS อีกที

บริการทั้ง 3 รูปแบบเหมาะกับธุรกิจที่ต้องการใช้บริการ Cloud โดยสามารถเลือกใช้งานอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ หรือใช้งานร่วมกันตามจุดประสงค์ของการใช้งาน

Symphony Cloud Service พร้อมให้คำปรึกษาและบริการ Cloud ทุกรูปแบบ หากสนใจบริการติดต่อ 02 101 1111 หรือ

 E-mail : Cloud@symphony.net.th

2023

SYMPHONY COMMUNICATION has achieved ISO 22301 BCMS Certificate

On August 24th, 2023. Mr. Alex Loh, Chief Operating Officer with the company’s team have received the certificate of ISO 22301 BCMS (Business Continuity Management) from the representative of BSI Group (Thailand) Ltd. to reinforce our commitment in providing Excellent Experience to our customers.

Our Business Continuity Management System (BCMS) has been established, used and being enhanced continuously and it has been created in compliance with the requirements of the ISO 22301:2019 standard as well as the organizational procedures and management structures.

• Determining the business continuity management requirements of the organization and publishing the business continuity management policy Including informing those concerned.

• Risk assessment and business impact analysis.

• Techniques for restoring vital organizational services, products and business processes.

• Preparation of business continuity plan and other related plans.

• Monitoring and measuring the performance and effectiveness of the BCMS system.

• Continuous improvement in accordance with measurement results and objectives.

Moreover, we can reassure our customers and other service users that we have taken the necessary steps to recover our vital business processes and services even if something happens that may effect our operations but we can make sure that the business runs continuously because our dedication is to providing the Excellent Experience to our valued customers. 

2023

Symphony Communication had a visit to the Udon Thani Provincial Industrial Council Committee

Symphony Communication Public Company Limited led by Khun Kranphol Asawasuwan, President, had the opportunity to meet with the president and committee of the Udon Thani Provincial Industrial Council by Khun Weeraphong Tengrangsan, Honorary Chairman of the Udon Thani Provincial Industrial Council and Colonel Warayu Triwattanasuwan had welcomed. At the same time, our team had presented and introduced various services such as domestic network service, international network service, internet service, cloud services and various solutions of the company as well as discussing and exchanging opinions between each other at the Udon Thani Provincial Industrial Council on Tuesday, 22 August 2023.

2023

ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น เข้ารับรางวัล สถานประกอบกิจการที่มีระบบการบริหารจัดการแรงงานที่ดีในภาวะวิกฤตจากการแพร่ระบาดของ COVID-19

คุณชนมน เจริญทวีภานุกูล – Head of Human Resources Division ในนามตัวแทนของซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น พร้อมทีมงานเข้ารับรางวัล สถานประกอบกิจการที่มีระบบการบริหารจัดการแรงงานที่ดีในภาวะวิกฤตจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

โดยประกอบไปด้วย 3 ส่วนด้วยกันคือ

✅ การเตรียมความพร้อมด้านนโยบายป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19
✅ การดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19

✅ สถานประกอบกิจการมีระบบการบริหารจัดการแรงงานที่ดีในภาวะวิกฤต

นับเป็นรางวัลที่แสดงให้เห็นถึงความเตรียมพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ของเรา เพราะไม่เพียงแต่มุ่งที่จะส่งมอบบริการที่มีคุณภาพสูงให้กับลูกค้าเท่านั้น แต่เรายังคำนึงถึงความสำคัญของพนักงานในองค์กรเป็นส่วนสำคัญด้วย

Cloud คืออะไร แล้ว Cloud แบบไหนเหมาะกับเรา

หลายๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า Cloud มาบ้าง ไม่ว่าจะเป็น Cloud Computing หรือ Cloud Service ซึ่งเรามักจะรู้จักในลักษณะของบริการฝากไฟล์ข้อมูล รูปภาพหรือเอกสารจากผู้ให้บริการต่างๆ เช่น Google Drive จาก Google หรือ OneDrive จาก Microsoft โดยอาจเป็นการให้บริการฟรีหรือพ่วงมากับบริการอื่นๆ แต่อันที่จริงแล้ว Cloud Service นั้นสามารถใช้งานได้หลากหลายมากกว่าแค่เป็นเพียงพื้นที่จัดเก็บไฟล์ทั่วๆ ไปที่เราคุ้นเคยกัน

แล้ว Cloud Computing คืออะไร?

Cloud Computing คือการให้บริการทรัพยากรทางด้านคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยผู้ให้บริการจะสร้างโครงสร้างพื้นฐานบน Data Center ที่ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (Cloud Server) ที่ซับซ้อนจำนวนมากด้วยการเข้าถึง Cloud ได้จากทุกที่บนโลกเพียงแค่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ทำให้มีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป และการที่รวบรวมทรัพยากรคอมพิวเตอร์จำนวนมากไว้ด้วยกัน ทำให้สามารถเลือกเพิ่มหรือลดการใช้งานได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต นอกจากนี้ยังไม่มีค่าใช้จ่ายในการดูแลอุปกรณ์เพราะเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการ ทำให้ Cloud Service ได้รับความนิยมในหลายกลุ่มธุรกิจ

Cloud Computing แบบไหนที่เหมาะกับเรา?

เราสามารถแบ่ง Cloud Computing ออกเป็น 3 แบบตามลักษณะการใช้งาน โดยแต่ละแบบนั้นจะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตุประสงค์การใช้งาน

  1. Public Cloud : คือบริการ Cloud Computing ที่จะใช้ทรัพยากรต่างๆ จากผู้ให้บริการเช่น ระบบ Hardware เสมือน ระบบโครงข่ายหรือ Network และระบบ Software ร่วมกันกับผู้ใช้งานอื่นๆ แต่จะไม่สามารถเข้าถึงระหว่างกันได้หากไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งจะมีระบบรักษาความปลอดภัย เช่น Cloud Firewall เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน โดยการใช้งานจะเป็นแบบ Pay-as-You-Go หรือจ่ายตามการใช้งานจริง เหมาะกับการที่มีการเพิ่ม-ลดขนาดทรัพยากรบ่อยๆ หรือต้องรองรับการใช้งานจำนวนมากพร้อมๆ กัน เช่น Web Application ต่างๆ
  2. Private Cloud : คือบริการ Cloud Computing ที่จัดสรรทรัพยากรให้ใช้แบบส่วนตัวโดยไม่ต้องแบ่งหรือใช้ร่วมกับผู้อื่น แต่องค์กรจะต้องลงทุนด้านทรัพยากรทั้งหมด โดยผู้ให้บริการจะดูแลระบบให้ทั้งหมด เริ่มตั้งแต่การออกแบบตามความต้องการใช้งาน การติดตั้ง ความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการใช้งานมากยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับการใช้งานที่เน้นในเรื่องการรักษาความปลอดภัยหรือการเก็บข้อมูลที่เป็นความลับ
  3. Hybrid Cloud : คือบริการ Cloud Computing ที่รวมเอาข้อดีของ Public Cloud และ Private Cloud ไว้ด้วยกัน โดยมีการทำงานทั้ง 2 ระบบตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะใช้งาน Cloud รูปแบบไหนต่างต้องใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงการใช้งาน ซึ่ง Symphony มีโครงข่ายอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุม สามารถเข้าสู่ Data Center ชั้นนำได้หลากหลายเส้นทาง ตอบโจทย์การใช้งาน Cloud ทุกประเภท นอกจากนี้ยังมี Symphony Cloud Service ที่จะคอยให้คำแนะนำในการใช้งาน Cloud ทุกรูปแบบ อุ่นใจกว่าด้วยการให้บริการแบบ One Stop Service ดูแลตั้งแต่ระบบโครงข่ายอินเทอร์เน็ตไปจนถึงการใช้งาน Cloud แบบไร้รอยต่อ

สนใจบริการติดต่อ 02 101 1111 หรือ E-mail : Cloud@symphony.net.th   

SYMPHONY เปิดตัวบริการใหม่ “ไซเบอร์ซิเคียวริตี้สำหรับลูกค้าองค์กร”

Symphony Communication PLC หรือ SYMC เปิดตัวบริการใหม่ล่าสุดด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้  นำเสนอโซลูชั่นสำหรับกลุ่มลูกค้าองค์กรเพื่อการขับเคลื่อนธุรกิจได้อย่างมั่นใจไร้กังวลและมีประสิทธิภาพ มุ่งเจาะกลุ่มลูกค้าองค์กรที่เน้นการดูแล เฝ้าระวัง วิเคราะห์และแจ้งเตือน ตรวจจับภัยคุกคามก่อนเกิดเหตุ ดูแลด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญตลอด 24 ชั่วโมง

นพดล มุสิกะรังษี ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์และบริการซีเคียวริตี้และไซเบอร์ซีเคียวริตี้ บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมชั้นนำ กล่าวถึงบริการใหม่ว่า หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา บทบาท วิธีการทำงานของแต่ละองค์กรได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมาก เห็นได้ว่าปัจจุบันนี้หลายบริษัทต่างให้พนักงานปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตการทำงานมาเป็น Work from Home หรือ Work from Anywhere มากขึ้น แน่นอนว่าการทำงานลักษณะนี้ต้องทำงานผ่านระบบออนไลน์มากยิ่งขึ้น

นั่นหมายถึงทุกคนจะต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการสื่อสารและเข้าถึงระบบบริการต่างๆ จึงตามมาด้วยความเสี่ยงทางด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จึงส่งมอบโซลูชั่นด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ซึ่งเป็นบริการใหม่ เพื่อช่วยตรวจสอบช่องโหว่และทดสอบเจาะระบบต่างๆ ของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ป้องกัน ดูแล เฝ้าระวัง วิเคราะห์และแจ้งเตือน เมื่อเกิดการคุกคามจากภัยทางไซเบอร์ ผ่านศูนย์ปฏิบัติการ Cybersecurity Operations Center (CSOC) พร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญที่คอยเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง

  • ปัจจุบันลูกค้าของบริษัทครอบคลุมหลายธุรกิจ ทั้งธุรกิจการเงิน การธนาคาร ประกันภัย อุตสาหกรรม เอนเตอร์เทนเมนต์ หรือธุรกิจค้าปลีก ในขณะที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นและเป็นหนึ่งในปัญหาหลักที่องค์กรควรให้ความสำคัญ เพราะความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการโจมตีทางไซเบอร์นั้นมีจำนวนมหาศาล และนอกจากจะเป็นการถูกโจมตีจากภายนอกแล้ว ความไม่รู้หรือความประมาทของบุคลากรในองค์กรยังเป็นอีกสาเหตุสำคัญที่นำพาภัยคุกคามต่างๆ เข้ามาในองค์กร จนทำให้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรได้รับผลกระทบได้ด้วยเช่นกัน ขณะเดียวกันจากเทรนด์สินทรัพย์ดิจิทัลที่เติบโตอย่างคริปโตเคอเรนซี (Cryptocurrency) นั้น ทำให้เกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์รูปแบบใหม่ หรือ Cryptojacking ที่แฮกเกอร์เข้ามาหาประโยชน์ด้วยการใช้ทรัพยากรขององค์กร อาทิ เจาะระบบเซิร์ฟเวอร์เข้ามาใช้คอมพิวเตอร์ขององค์กรในการขุดเหมืองเงินดิจิทัลทำให้เกิดความเสียหายให้ทรัพย์สินขององค์กรได้เช่นกัน            

การตั้งรับเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ใช่วิธีการที่วางใจได้เสมอไป ดังนั้น บริการแบบเชิงรุกเพื่อให้รู้เท่าทันภัยคุกคามที่พัฒนาความรุนแรงมากขึ้น ไม่ใช่แค่เพียงการรอให้เกิดขึ้นและแก้ปัญหา แต่เป็นการเฝ้าระวัง ติดตามการพัฒนาของเหล่าแฮกเกอร์ คอยอัปเดตระบบไว้เพื่อตอบสนองได้ตลอดเวลา ด้วยการทำงานของทีมผู้เชี่ยวชาญตลอด 24 ชั่วโมง เป็นการตอบโจทย์ในทุกมิติของโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วยนวัตกรรมใหม่  สามารถป้องกันภัยคุกคามในทุกด้าน และเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่ากลุ่มลูกค้าองค์กรจะสามารถเดินหน้าธุรกิจได้อย่างมั่นใจและมีประสิทธิภาพสูงสุด”

สำหรับการให้บริการโซลูชั่นด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ บริษัทมีความพร้อมให้การดูแลบริการในแบบ One-Stop Service ทั้งให้คำปรึกษา ออกแบบโซลูชั่น ดูแลบริการหลังการขายด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงคอย อัปเดตระบบให้รู้จักภัยคุกตามใหม่ๆ ตลอดเวลา พร้อมทั้ง “Threat Intelligence” ซึ่งจะคอยรวบรวมข้อมูลข่าวสารภัยคุกคามจากแหล่งต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลก รวมถึงการพัฒนาระบบความปลอดภัยให้แก่ลูกค้าตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง มุ่งเน้นแจ้งเตือนความปลอดภัยให้กับลูกค้าที่ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลมาแล้วว่าเป็น “True Positive” สามารถดูแลจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างรัดกุมและปลอดภัยที่สุด ดังนั้นลูกค้าจึงมั่นใจได้ว่าระบบต่างๆ ในองค์กรของท่านจะปลอดภัยจากภัยคุกคามต่างๆ แม้ว่าจะเป็นรูปแบบใหม่ๆ ก็ตาม

ทั้งนี้ บริการไซเบอร์ซิเคียวริตี้สำหรับลูกค้าองค์กร เหมาะสำหรับการใช้งานในองค์กรต่างๆ ที่ต้องการความปลอดภัยทางข้อมูล สามารถลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางโลกไซเบอร์ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware), การโจมตีบนอินเทอร์เน็ต, ช่องโหว่ด้านความปลอดภัยในเบราว์เซอร์ แอปพลิเคชัน ตลอดจนภัยคุกคามขั้นสูงอย่างอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ที่มีเป้าหมายเพื่อโจมตีหน่วยงานที่มีข้อมูลสำคัญระดับชาติ (Advanced Persistent Threats)

สำหรับองค์กรที่สนใจคำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์สามารถติดต่อสอบถามได้ที่

02-1011111 หรือ e-mail : salesecurity@symphony.net.th

ขอขอบคุณ Marketplus สำหรับข่าวการเปิดตัวบริการใหม่ “ไซเบอร์ซิเคียวริตี้สำหรับลูกค้าองค์กร” ของ ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น มา ณ ที่นี้ https://www.marketplus.in.th/content/detail.php?id=20063

เตรียมความพร้อมก่อน Transform to Cloud กับ Symphony

ข้อมูลจากศูนย์วิจัย Gartner คาดการณ์ว่าค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ Cloud สาธารณะ (Public Cloud) ในประเทศไทยจะมีมูลค่าสูงถึง 54,409 ล้านบาทในปี 2023 เติบโตขึ้นจากปี 2022 ถึง 31.8% เนื่องจากการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของภาคธุรกิจที่เริ่มใช้บริการ Cloud มากขึ้น เนื่องจากระบบ Cloud นั้น ไม่ได้เป็นเพียงแค่พื้นที่จัดเก็บข้อมูลเท่านั้นแต่เป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการทำธุรกิจ (Business Application) เช่น ข้อมูล คน คู่ค้า กระบวนการ เทคโนโลยีสำหรับการผลิตและการบริการต่างๆ ให้กับลูกค้า ทั้งยังสามารถปรับลดขนาดได้เหมาะสมตามความต้องการของธุรกิจต่างๆ

จากงานวิจัยพบว่าผู้ประกอบการหลายรายยังคงมองว่า Cloud เป็นเพียงแค่พื้นที่จัดเก็บข้อมูล (Storage) มีค่าใช้จ่ายในการใช้งานแบบครั้งเดียว (CAPEX) และคุ้นเคยกับการลงทุนในระบบแบบ On-Premise ซึ่งอาจทำให้เสียโอกาสในการดำเนินธุรกิจเนื่องจากความล่าช้าในการจัดหาอุปกรณ์เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจรวมถึงการดูแลระบบที่จะเกิดขึ้นภายหลัง

อันที่จริงแล้วระบบ Cloud ที่มีความยืดหยุ่นกว่าแตกต่างจากระบบ On-Premise มาก เพราะเริ่มต้นใช้งานได้เร็วกว่า สามารถควบคุมต้นทุนได้ ทั้งในช่วงเริ่มต้นธุรกิจหรือช่วงขยายธุรกิจ ระบบ Cloud ยังคงตอบสนองได้ตามความต้องการ แต่สิ่งสำคัญในการเตรียมพร้อมก่อนตัดสินใจใช้บริการ Cloud คือ

  1. รู้จัก Cloud รู้จักเรา : ควรทราบถึงประโยชน์และข้อดีของ Cloud และเข้าใจว่าธุรกิจต้องการใช้ Cloud เพื่อวัตถุประสงค์ใด เพราะ Cloud นั้นช่วยสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ ถ้ายังไม่เข้าใจและไม่กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน Cloud อาจไม่ตอบโจทย์กลยุทธ์ทางธุรกิจได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  2. การใช้งาน Cloud นั้นไม่ควรจำกัดเฉพาะหน่วยงานด้าน IT แต่ควรประยุกต์ใช้กับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อปรับปรุงการทำงานหรือการให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดีที่สุด
  3. Long life learning : องค์กรควรสนับสนุนให้พนักงานเรียนรู้นวัตกรรม Cloud ใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อการใช้งาน Cloud ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเกิดการสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆ เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการให้ดีขึ้นจากการนำ Cloud มาใช้ในองค์กร

หลายบริษัทประสบความสำเร็จจากการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานแบบเดิมมาใช้งานบนระบบ Cloud โดยเริ่มจากการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น ต้องการเป็นโรงงานอัจฉริยะโดยการใช้งาน Cloud เพื่อระบุปัญหาในกระบวนการผลิต ช่วยให้ลดเวลาการแก้ไขปัญหาจากวันเหลือเพียงไม่กี่ชั่วโมง หรือการนำข้อมูลทางการตลาดที่เกิดขึ้นบน Cloud ไปออกแคมเปญกระตุ้นยอดขายแบบ Realtime 

การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนทำให้การใช้บริการ Cloud ของธุรกิจประสบความสำเร็จทั้งในด้านกลยุทธ์การดำเนินงานและด้านการเงิน จากงานวิจัยล่าสุดพบว่า บริษัทที่ตั้งเป้าหมายการลงทุนในเทคโนโลยี Cloud นั้น สามารถลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจได้ถึง 1.2 เท่าในทวีปอเมริกาเหนือ และ 2.7 เท่าในทวีปยุโรป เมื่อเทียบกับบริษัทที่ใช้แค่การสำรองข้อมูลเป็นหลัก หากธุรกิจของคุณตั้งเป้าหมายและพร้อมให้ความรู้พนักงานในองค์กรเรื่องเทคโนโลยีของ Cloud แต่ไม่ทราบว่าจะเริ่มอย่างไร ทีมงานSymphony Cloud Service ยินดีให้คำปรึกษาบริการ Cloud ทุกรูปแบบ เพราะเราเชื่อมั่นว่าการลงทุนในเทคโนโลยี Cloud นั้นให้ผลตอบแทนคุ้มค่าในอนาคตอย่างแน่นอน

สนใจบริการติดต่อ 02 101 1111 หรือ E-mail : Cloud@symphony.net.th